Abrasive Cutting Machine (ACM)

เครื่องตัดหยาบสําหรับชิ้นงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก (ACM) เป็นเครื่องตัดอเนกประสงค์ สามารถตัดชิ้นงานตัวอย่างได้หลายขนาด เนื่องจากมอเตอร์มีแรงม้ากำลังสูง (3 kW motor) และมีช่องตัดขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเตรียมชิ้นงานเพื่อทำการทดสอบ

Mercury Intrusion Porosimeter (MIP)

เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ความเป็นรูพรุนของวัสดุโดยการแทนที่ด้วยปรอท โดยใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างความดันและรัศมีของรูพรุนตามสมการ Washburn Equation สำหรับตัวอย่างที่มีรัศมีรูพรุนขนาดโดยประมาณที่ 0.003 – 500 µm

X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF)

XRF เป็นเทคนิคที่ใช้ในการหาชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่างทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลวและสารแขวนลอยได้

Optical Microscope (OM)

เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับงานด้านวัสดุศาสตร์ด้วยภาพถ่าย 2 และ 3 มิติ มีความคมชัดและมีความละเอียดสูง สำหรับนำไปใช้ในการตรวจสอบพื้นผิวของวัตถุทึบแสงและโลหะขัดเงา หรือตัวอย่างหน้าตัด (cross-section sample) สามารถตรวจสอบตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ มีความหนาหรือมีน้ำหนักไม่เกิน 5 Kg

Fluorescence Microscope

กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ เป็นกล้องจุลทรรศน์แบบหัวกลับ ที่ถูกนำไปใช้เพื่อศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติสามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงเองได้ เมื่อได้รับพลังงานแสงจากแหล่งกำเนิดที่มีพลังงานสูงและถูกยิงไปกระทบกับวัตถุที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสง วัตถุนั้นจะปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นแสงที่เราสามารถมองเห็น สามารถนำไปใช้กับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถทำการย้อมสี (สีที่มีปฏิกิริยากับแสง UV) แล้วทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้นได้

Transmission Electron Microscope (TEM)

สามารถวิเคราะห์วัสดุโดยใช้อิเล็กตรอนที่ผ่านโฟกัสด้วยระบบเลนส์แม่เหล็กเพื่อยิงทะลุผ่านชิ้นงานบางๆ (บางระดับนาโน) ให้ไปตกลงฉากรับภาพ เทคนิคนี้ใช้ศึกษาโครงสร้างจุลภาค สัณฐานของอนุภาค โครงสร้างผลึก รวมถึงองค์ประกอบทางเคมี (ใช้ร่วมกับ EDS)