หน่วยงานภายใน

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

มุ่งมั่นปรับปรุงให้บริการด้วยใจ โปร่งใสบริหารงาน ได้มาตรฐานสากล เพื่อประสิทธิผลของผู้ใช้บริการ

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองตามมาตรฐานระดับสากล

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ค้นคว้าและพัฒนาสารเคมีใหม่ที่มาจากธรรมชาติในการรักษาโรค บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยด้านการค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้านบ่มเพาะวิสาหกิจ (Start Up) และด้านคลินิกเทคโนโลยี

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานเลขานุการ

บริการด้านการเงิน ระบบสารสนเทศ การจัดซื้อจัดจ้าง อาคารสถานที่ งานวิจัย รวมถึง บริการให้เช่าพื้นที่ และห้องประชุม

image
ประกาศ & ข่าวสาร

ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมอบรม รับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ยินดีต้อนรับ

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ยินดีต้อนรับ

รองศาสตราจารย์ ดร.จิรดา สิงขรรัตน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567

ขอขอบพระคุณ รองศาตราจารย์ ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์

ขอขอบพระคุณ รองศาตราจารย์ ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์

เนื่องในโอกาสการดำรงตำแหน่งครบวาระผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอขอบพระคุณ รองศาตราจารย์ ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์ ที่ได้เสียสละและทุ่มเทในการบริหารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้เป็นที่ประจักษ์

ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์

ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนที่ 25

โครงการอบรม

โครงการอบรม

เรื่องเทคนิคการวิเคราะห์หาค่าพื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนทั้งระดับ Micro-, Meso- และ Macropore ของวัสดุ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอประชาสัมพันธ์โครงการอบรม เรื่อง “เทคนิคการวิเคราะห์หาค่าพื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนทั้งระดับ Micro-, Meso- และ Macropore ของวัสดุ” (บรรยายภาษาไทย) วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. อบรมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Google Meet สามารถส่งแบบตอบรับเข้าร่วมโครงการอบรมได้ที่ https://bit.ly/tubetmip67 (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ภายในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2564-4568, 09-4954-2882 E-mail : lab@tucsear.com Line official : @tucsear

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดีกับ ดร.นงนภัส ดวงดี

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดีกับ ดร.นงนภัส ดวงดี

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ตำแหน่งนักวิจัยชำนาญการ

รายการ

เครื่องมือใหม่ที่ให้บริการ

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา งานสัตว์ทดลอง ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ ให้เช่าพื้นที่และห้องประชุม

เครื่องระบุชนิดจุลินทรีย์อย่างละเอียด {Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS)}

เป็นหลักการวิเคราะห์โปรตีนด้วย MALDI-TOF MS บนแผ่นโลหะที่มีส่วนผสมของเมตทริกซ์ และโปรตีนที่ต้องการวิเคราะห์ เมื่อกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์จะทําให้สารตัวอย่างแตกตัวเป็นไอออนในวัฏภาคแก๊ส ไอออนจะถูกเร่งความเร็วและถูกส่งเข้าไปในท่อสุญญากาศ ซึ่งไอออนจะถูกแยกตามความเร็วในการเคลื่อนที่ของไอออน โดยความเร็วของการเคลื่อนที่ ขึ้นกับมวลต่อประจุ (mass/charge ratio; m/z) จากนั้นจะเข้าสู่ detector ทําให้ได้สเปกตรัมที่สามารถจําแนกชนิดของโปรตีนจําเพาะได้ สำหรับการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล biopolymers

เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ X-ray Diffractometer (XRD)

XRD เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการของ Bragg's Law คือ เมื่อรังสีเอกซ์ตกกระทบกับระนาบของอะตอมภายในผลึก รังสีเอกซ์จะเกิดการสะท้อนที่มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ ทำให้มีการนำมาใช้ศึกษารูปแบบโครงสร้างผลึกของสารตัวอย่าง ซึ่งผลึกของสารตัวอย่างแต่ละชนิดจะมีขนาดของ Unit Cell ที่ไม่เท่ากัน ทำให้รูปแบบของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของสารประกอบต่าง ๆ กับรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ได้ ทำให้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ (identification) โครงสร้างผลึกของวัสดุหรือสารตัวอย่างนั้นๆได้

Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer (NMR 600 MHz)

เครื่องนิวเคลียร์เมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก มีประโยชน์ในการศึกษาสูตรโครงสร้างทางเคมีและพลวัตของสารตัวอย่าง

เจ้าหน้าที่

ผลงานวิจัย

เครื่องมือและการให้บริการ

ห้องปฏิบัติการและห้องประชุม

การบริการ

บริการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

เครื่องมือวิทยาศาสตร์

บริการเครื่องมือกลุ่ม Material Characterization, Spectroscopy, ICP, Biological Equipment ,ระบบ Packaging แบบสูญญากาศ และอื่นๆ

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา

บริการสกัดแยกวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและกลไกการออกฤทธิ์ในระดับเซลล์และโมเลกุล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุล

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

งานสัตว์ทดลอง

บริการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองโดยได้รับมาตรฐานระดับสากล AAALAC International บริการการปฏิบัติการและทำหัตถการกับสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องปฏิบัติการ

บริหารห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 และห้องปฏิบัติการทางรังสีของสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ

ให้คำปรึกษาการจดสิทธิบัตร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา บ่มเพาะธุรกิจ Start UP พร้อม Co-working Space

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องประชุม

บริการห้องประชุม 10 - 80 ที่นั่ง พร้อมอุปกรณ์ในการประชุมด้วยระบบประชุมทางไกล โถงสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ

บันทึกความร่วมมือ

MOU

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ติดต่อเรา

สำนักสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

thammasat@gmail.com

02-564-2944

02-564-4440 ต่อ 77710

facebook
tusatofficial
Q&A
คำถามที่พบบ่อย

Q&A