ภาษาไทย English
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

18 มีนาคม 2568 ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ศ.ดร.นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ ผศ.นพ.พีระพงค์ กิติภาวงค์ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดยมี รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม, ผศ.นพ.กานต์ วิฑูรชาติ, ผศ.ดร.ศรัณยู พลนิกร และ ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือนี้มุ่งพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ทางสังคมและเชิงพาณิชย์1

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อการวิจัยชันสูงได้รับประกาศจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นด้านการวิจัย ปี 2567 ในระดับสาขาวิชา โดยเป็นผู้มีบทความวิจัยในฐานข้อมูล Scopus ที่ถูกอ้างอิงสูงที่สุดในปี 2567

ยินดีต้อนรับวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยินดีต้อนรับวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าศึกษาดูงานที่ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ระบบฐานข้อมูลบุคลากร และระบบสารสนเทศภายในสำนักงานฯ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การประเมินอายุการเก็บรักษา และแนวทางการวิเคราะห์คุณภาพสำหรับทุเรียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การประเมินอายุการเก็บรักษา และแนวทางการวิเคราะห์คุณภาพสำหรับทุเรียน”

วันที่ 5 - 7 มีนาคม 2568 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การประเมินอายุการเก็บรักษา และแนวทางการวิเคราะห์คุณภาพสำหรับทุเรียน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวทางในการจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การประเมินอายุการเก็บรักษา และแนวทางการวิเคราะห์คุณภาพสำหรับทุเรียน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้เกียรติกล่าวเปิดและปิดงาน พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าอบรมทุกท่าน โครงการอบรมนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายและให้ความรู้ พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เครื่องมือฯ ร่วมบรรยายภาคปฏิบัติในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์คุณภาพสำหรับทุเรียน

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าศึกษาดูงานศูนย์ทรัพย์สินฯ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเข้าศึกษาดูงานศูนย์ทรัพย์สินฯ

📮เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วยอึ๊งภากรณ์ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ยินดีต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาในงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการบ่มเพาะธุรกิจ รวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์กรในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาและแชร์ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกัน 🙏ศูนย์ฯ ขอขอบคุณ สถาบันวิจัยและนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และหวังว่าจะมีโอกาสได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากสถาบันฯ ม.แม่ฟ้าหลวงในเร็ว ๆ นี้ ✨ ทั้งนี้ อาจารย์/นักวิจัยท่านใด สนใจอยากร่วมงานหรือประสานงานกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ฯ

กิจกรรม Pitching คัดเลือกทีม Start up

กิจกรรม Pitching คัดเลือกทีม Start up

📍เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม Pitching คัดเลือกทีม Start up ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วยอึ๊งภากรณ์ เพื่อโอกาสในการชิงทุนภาครัฐ เช่น TEDFUND ,Business Brotherhood ,UBI และทุนอื่นๆ โดยรับเกียรติจากคณะกรรมการ 3 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.จิรดา สิงขรรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ดร.พิเชษฐ์ เบญจรงค์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผน คุณอรุณี แปลงนาม ผู้เชี่ยวชาญพัฒนานวัตกรรม NIA 👩🏻‍💻ทั้งนี้ มีทีมเข้าร่วมการนำเสนอธุรกิจ จำนวน 23 ทีม โดยศูนย์ฯจะประกาศผลการคัดเลือกภายในวันที่ 7 มีนาคม 2568 หากทีม Startup หรือ บริษัท มีความต้องการเข้าร่วมการบ่มเพาะภายใต้ศูนย์ฯ สามารถติดต่อได้โดยตรงTuipi@tbs.tu.ac.th หรือ 083 880 8264