ภาษาไทย English
ผู้ร่วมโครงการ “หลักสูตรพิเศษ ทุเรียน 101 ตอบโจทย์ความรู้พื้นฐาน การผลิตไม้ผลเขตร้อนครบวงจร ปลูกได้ขายเป็น“ เข้าเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือฯ

ผู้ร่วมโครงการ “หลักสูตรพิเศษ ทุเรียน 101 ตอบโจทย์ความรู้พื้นฐาน การผลิตไม้ผลเขตร้อนครบวงจร ปลูกได้ขายเป็น“ เข้าเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือฯ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (วทส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือฯ ได้ให้การต้อนรับ รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมคณะผู้เข้าร่วมโครงการอบรมผลิตผลไม้เขตร้อน จากการวิจัยและพัฒนา ในหัวข้อ “หลักสูตรพิเศษ ทุเรียน 101 ตอบโจทย์ความรู้พื้นฐาน การผลิตไม้ผลเขตร้อนครบวงจร ปลูกได้ขายเป็น” ซึ่งได้มาเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือฯ เพื่อศึกษาดูงานและหาวิธีการในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการผลิตผลไม้เขตร้อน รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือและบูรณาการกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต สอดคล้องกับนโยบาย ONE TU ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในทุกด้านอย่างบูรณาการและยั่งยืน สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ โทร. 02-564-4568, 094-954-2882 E-mail : lab@tucsear.com Line official : @tucsear

การประชุมปรับปรุงพื้นที่รอบอาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

การประชุมปรับปรุงพื้นที่รอบอาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุม 2.18 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์สุขศาสตร์ เป็นประธานในการจัดประชุมการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ร่วมด้วยคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ รองคณบดีคณะพยาบาล ผู้บริหารและวิศวกร เพื่อพิจารณาการปรับปรุงพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์สูงสุด

งาน The First Conference and Exhibition on Health and Wellness

งาน The First Conference and Exhibition on Health and Wellness

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมงาน The First Conference and Exhibition on Health and Wellness ระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2567 ณ โฆษะ โฮเทล แอนด์ เวลเนส เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา นักวิจัย และบุคลากรศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายาเข้าร่วม เพื่อผลักดันไทยสู่การเป็น Hub of Wellness in Asia

งานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานทะเบียนนักศึกษา

งานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานทะเบียนนักศึกษา

เมื่อวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 น. ณ สำนักงานทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี เลขานุการ และบุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นผู้แทนไปร่วมแสดงความยินดีเนื่องในงานคล้ายวันสถาปนาสำนักงานทะเบียนนักศึกษา

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมศักยภาพวิจัยและบริการวิชาการผ่านการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมศักยภาพวิจัยและบริการวิชาการผ่านการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยและบริการวิชาการ ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรม พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และยกระดับงานวิจัยสู่มาตรฐานสากล

ประชุมการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

ประชุมการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รศ.ดร. ธนาธร ทะนานทอง รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง และบุคลากร เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางในการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นการสร้างวิธีทดสอบและเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวสู่การยกระดับคุณภาพและความแม่นยำในงานวิจัยวิทยาศาสตร์แบบองค์รวม โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วรดา สโมสรสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์, รศ.ดร.ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ และอ.ดร.ภากร อุทโยภาศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์, อ.ดร.นวฤกษ์ ชลารักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมด้วยคุณชลนันท์ ขัตติยเวช โดย รศ.ดร.วรดา สโมสรสุข และทีมวิจัย ได้นำเสนอตัวอย่างการพัฒนา AI ด้วยกระบวนการ Machine learning และ Deep learning ในการจัดจำแนกเชื้อราก่อโรคเพื่อใช้สำหรับการช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์ ในการประชุมหารือครั้งนี้ ศูนย์เครื่องมือฯ ได้รับแรงบันดาลใจในการนำ AI มาใช้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ทดสอบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบและการให้บริการของเราต่อไป ติดตามข่าวสารได้ทุกช่องทาง https://www.facebook.com/TUCSEAR Line official : @tucsear www.sat.tu.ac.th https://www.facebook.com/tusatofficial #ONETU #TUCSEAR #ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูงมธ. #สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง #วทส #TUSAT