ภาษาไทย English
หน่วยงานภายใน

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

มุ่งมั่นปรับปรุงให้บริการด้วยใจ โปร่งใสบริหารงาน ได้มาตรฐานสากล เพื่อประสิทธิผลของผู้ใช้บริการ

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองตามมาตรฐานระดับสากล

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ค้นคว้าและพัฒนาสารเคมีใหม่ที่มาจากธรรมชาติในการรักษาโรค บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยด้านการค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้านบ่มเพาะวิสาหกิจ (Start Up) และด้านคลินิกเทคโนโลยี

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานเลขานุการ

บริการด้านการเงิน ระบบสารสนเทศ การจัดซื้อจัดจ้าง อาคารสถานที่ งานวิจัย รวมถึง บริการให้เช่าพื้นที่ และห้องประชุม

image
ประกาศ & ข่าวสาร

ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมอบรม รับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)”

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)”

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ได้จัดอบรมโครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)” ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 💰 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ ภายในงานเราได้รับเกียรติจาก คุณวิริยะ อนุจารี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการวิเคราะห์ทางการเงินที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ เช่น • การคำนวณ Financial Feasibility เพื่อประเมินโอกาสความสำเร็จของธุรกิจ • การใช้ โปรแกรมของแผนธุรกิจ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน • การวิเคราะห์ต้นทุน-กำไร เพื่อช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจแม่นยำยิ่งขึ้น 💪🏻 Workshop แบบลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลอง คำนวณทางการเงินสำหรับธุรกิจของตนเอง ตั้งแต่ • การคำนวณต้นทุนสินค้า • การตั้งราคาขายที่เหมาะสม • การวิเคราะห์กำไรขาดทุน • การวางแผนการเงินระยะสั้นและระยะยาว ✨ บรรยากาศเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และไอเดีย ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ช่วยให้สามารถจัดการการเงินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว 🙏 ทางศูนย์ฯ ขอขอบคุณ คุณวิริยะ อนุจารี และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกันอีกในการอบรมครั้งต่อไป 🎉

วันรีไซเคิลโลก

วันรีไซเคิลโลก

🌍♻️ 18 มีนาคม วันรีไซเคิลโลก ♻️🌍 รู้ไหม? ขยะที่เราทิ้งไปทุกวัน สามารถกลับมาเป็นของใช้ใหม่ได้! 🏡✨ แค่เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการ แยกขยะให้ถูกต้อง 💚 ขวดพลาสติก กระป๋อง แก้ว → รีไซเคิลได้ 💙 กระดาษ กล่องกระดาษ → แยกให้สะอาดก่อนทิ้ง 💛 ขยะอินทรีย์ เศษอาหาร → ทำปุ๋ยได้ การรีไซเคิลไม่ใช่แค่ช่วยลดขยะ แต่ยังช่วย ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และสร้างโลกที่ยั่งยืน 🌏✨ 📢 มาร่วมมือกันแยกขยะวันนี้ เพื่อโลกที่ดีขึ้นทุกวัน!

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ "วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจผ่าน Lean Canvas (Workshop)"

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ได้จัดอบรมโครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ "วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจผ่าน Lean Canvas (Workshop)" ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 👨‍🏫 ภายในงานเราได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชษฐ์ เบญจรงค์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการตลาด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ, ทักษะที่จำเป็นในการเริ่มต้นธุรกิจ และความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ พร้อมทั้งเจาะลึกแนวทางวิเคราะห์ธุรกิจผ่าน Lean Canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ 💼 Workshop แบบลงมือปฏิบัติจริง ช่วยให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจโครงสร้างธุรกิจของตนเองมากขึ้น ตั้งแต่การ กำหนดปัญหาที่ธุรกิจต้องแก้ไข, การระบุลูกค้าเป้าหมาย, การหากลยุทธ์สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ ไปจนถึงการวางโมเดลธุรกิจที่สามารถนำไปใช้ได้จริง บรรยากาศเต็มไปด้วย การแลกเปลี่ยนไอเดียที่เป็นประโยชน์ ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดไอเดียทางธุรกิจ และพัฒนาให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคต✨ 🙏 ทางศูนย์ฯ ขอขอบคุณ ดร.พิเชษฐ์ เบญจรงค์รัตน์ และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกันอีกในการอบรมครั้งต่อไป

TUIPI และ VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา 🚀

TUIPI และ VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา 🚀

🗓️ วันที่ 18 มีนาคม 2568 | เวลา 13.00 - 15.00 ⛲️ ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUIPI) และบริษัท VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของแต่ละฝ่าย และกำหนดแนวทางความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้ธุรกิจนวัตกรรมสามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมประชุมโดยผู้บริหาร TUIPI รศ.ดร จิรดา สิงขรรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ และ รศ.ดร เจียรนัย เล็กอุทัย ที่ปรึกษาศูนย์ฯ พร้อมทั้งผู้บริหารจาก VISUP คุณอภิวัฒน์ ทองประเสร็ฐ ,คุณอดิพล ตันนิรันดร ,คุณสรวิชญ์ ชัยวงศ์สุรฤทธิ์ และคุณฐิติพร แสนสุรีย์รังสิกุล ร่วมถึงผู้ประกอบการจาก มธ. 2 ราย 📍นักวิจัย ผู้ประกอบการที่ต้องการต่อยอดงานวิจัยสู่ธุรกิจ หรือ Startup ที่กำลังมองหาแหล่งทุนและพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนนักลงทุนที่สนใจโอกาสในธุรกิจนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย สามารถติดต่อทางที่ศูนย์ฯ

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

18 มีนาคม 2568 ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ศ.ดร.นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และ ผศ.นพ.พีระพงค์ กิติภาวงค์ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดยมี รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม, ผศ.นพ.กานต์ วิฑูรชาติ, ผศ.ดร.ศรัณยู พลนิกร และ ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือนี้มุ่งพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ทางสังคมและเชิงพาณิชย์1

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อการวิจัยชันสูงได้รับประกาศจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นด้านการวิจัย ปี 2567 ในระดับสาขาวิชา โดยเป็นผู้มีบทความวิจัยในฐานข้อมูล Scopus ที่ถูกอ้างอิงสูงที่สุดในปี 2567

รายการ

เครื่องมือใหม่ที่ให้บริการ

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา งานสัตว์ทดลอง ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ ให้เช่าพื้นที่และห้องประชุม

เครื่องระบุชนิดจุลินทรีย์อย่างละเอียด {Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS)}

เป็นหลักการวิเคราะห์โปรตีนด้วย MALDI-TOF MS บนแผ่นโลหะที่มีส่วนผสมของเมตทริกซ์ และโปรตีนที่ต้องการวิเคราะห์ เมื่อกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์จะทําให้สารตัวอย่างแตกตัวเป็นไอออนในวัฏภาคแก๊ส ไอออนจะถูกเร่งความเร็วและถูกส่งเข้าไปในท่อสุญญากาศ ซึ่งไอออนจะถูกแยกตามความเร็วในการเคลื่อนที่ของไอออน โดยความเร็วของการเคลื่อนที่ ขึ้นกับมวลต่อประจุ (mass/charge ratio; m/z) จากนั้นจะเข้าสู่ detector ทําให้ได้สเปกตรัมที่สามารถจําแนกชนิดของโปรตีนจําเพาะได้ สำหรับการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล biopolymers

เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ X-ray Diffractometer (XRD)

XRD เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการของ Bragg's Law คือ เมื่อรังสีเอกซ์ตกกระทบกับระนาบของอะตอมภายในผลึก รังสีเอกซ์จะเกิดการสะท้อนที่มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ ทำให้มีการนำมาใช้ศึกษารูปแบบโครงสร้างผลึกของสารตัวอย่าง ซึ่งผลึกของสารตัวอย่างแต่ละชนิดจะมีขนาดของ Unit Cell ที่ไม่เท่ากัน ทำให้รูปแบบของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของสารประกอบต่าง ๆ กับรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ได้ ทำให้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ (identification) โครงสร้างผลึกของวัสดุหรือสารตัวอย่างนั้นๆได้

Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer (NMR 600 MHz)

เครื่องนิวเคลียร์เมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก มีประโยชน์ในการศึกษาสูตรโครงสร้างทางเคมีและพลวัตของสารตัวอย่าง

เจ้าหน้าที่

ผลงานวิจัย

เครื่องมือและการให้บริการ

ห้องปฏิบัติการและห้องประชุม

การบริการ

บริการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

เครื่องมือวิทยาศาสตร์

บริการเครื่องมือกลุ่ม Material Characterization, Spectroscopy, ICP, Biological Equipment ,ระบบ Packaging แบบสูญญากาศ และอื่นๆ

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา

บริการสกัดแยกวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและกลไกการออกฤทธิ์ในระดับเซลล์และโมเลกุล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุล

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

งานสัตว์ทดลอง

บริการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองโดยได้รับมาตรฐานระดับสากล AAALAC International บริการการปฏิบัติการและทำหัตถการกับสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องปฏิบัติการ

บริหารห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 และห้องปฏิบัติการทางรังสีของสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ

ให้คำปรึกษาการจดสิทธิบัตร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา บ่มเพาะธุรกิจ Start UP พร้อม Co-working Space

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องประชุม

บริการห้องประชุม 10 - 80 ที่นั่ง พร้อมอุปกรณ์ในการประชุมด้วยระบบประชุมทางไกล โถงสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ

บันทึกความร่วมมือ

MOU

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ติดต่อเรา

สำนักสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

thammasat@gmail.com

02-564-2944

02-564-4440 ต่อ 77710

facebook
tusatofficial
Q&A
คำถามที่พบบ่อย

Q&A