หน่วยงานภายใน

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

มุ่งมั่นปรับปรุงให้บริการด้วยใจ โปร่งใสบริหารงาน ได้มาตรฐานสากล เพื่อประสิทธิผลของผู้ใช้บริการ

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองตามมาตรฐานระดับสากล

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ค้นคว้าและพัฒนาสารเคมีใหม่ที่มาจากธรรมชาติในการรักษาโรค บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยด้านการค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้านบ่มเพาะวิสาหกิจ (Start Up) และด้านคลินิกเทคโนโลยี

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานเลขานุการ

บริการด้านการเงิน ระบบสารสนเทศ การจัดซื้อจัดจ้าง อาคารสถานที่ งานวิจัย รวมถึง บริการให้เช่าพื้นที่ และห้องประชุม

image
ประกาศ & ข่าวสาร

ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมอบรม รับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง

การจัดประชุมวิชาการ

การจัดประชุมวิชาการ "การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์และเชิงพาณิชย์"

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องสัมมนา ชั้น 4 อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้มีการจัดประชุมวิชาการ "การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์และเชิงพาณิชย์" โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นประธาน และวิทยากรได้แก่: 1. ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ร้อยตำรวจเอก ดร. สุชาดา สุขหร่อง 2. รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร เนติ วระนุช 3. นพ. ธีระชับ วรัญญูรัตนะ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัญญู พลนิกร ซึ่งมีบุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงเข้าร่วมประชุม

ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา AI เพื่องานวิจัย

ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา AI เพื่องานวิจัย

เมื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11:00 - 12:30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงได้จัดการประชุมเกี่ยวกับการสร้าง AI เพื่องานวิจัย โดยมี รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์สุขศาสตร์ เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วย รศ.ดร.ธนาธร ทะนานทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ รศ.ดร.จิรดา สิงขรรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ เลขานุการสำนักงานฯ และบุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา AI เพื่องานวิจัย

ศูนย์เครื่องมือฯ ม.ธรรมศาสตร์ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง Revealing the New 90 nm Confocal Experience with ZEISS LSM 900 and arivis

ศูนย์เครื่องมือฯ ม.ธรรมศาสตร์ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง Revealing the New 90 nm Confocal Experience with ZEISS LSM 900 and arivis

ศูนย์เครื่องมือฯ ม.ธรรมศาสตร์ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง Revealing the New 90 nm Confocal Experience with ZEISS LSM 900 and arivis วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้อง 3.33 อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และขอเชิญผู้สนใจทดลองส่งตัวอย่างทดสอบ (ฟรี) ตั้งแต่วันที่ 23-25 กรกฎาคม 2567 สนใจลงทะเบียนอบรมและส่งตัวทดสอบได้ที่ https://docs.google.com/.../1XDVj5dR0iESW1jcL.../viewform... ขอสวงสิทธิ์ในการจัดคิวเข้าทดสอบตัวอย่าง โดยจะนัดหมายวันเวลาที่มาทดสอบอีกครั้ง สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ โทร. 02-564-4568, 094-954-2882 E-mail : lab@tucsear.com Line official : @tucsear

ขอแสดงความยินดีกับ นายขจรศักดิ์ สมสมัย

ขอแสดงความยินดีกับ นายขจรศักดิ์ สมสมัย

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้ัน ตำแหน่งวิศวกรชำนาญการ

จดหมายข่าวสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

จดหมายข่าวสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

ฉบับที่ 47 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567

คลิก

วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 – 10.30 น. ณ อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.นายแพทย์ พฤหัส ต่ออุดม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์สุขศาสตร์ เป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง พร้อมด้วย ศ.ดร.นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และรศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขานุการสำนักงานและบุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง เข้าร่วมพิธีทำบุญถวายสังฆทานพระสงฆ์เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

รายการ

เครื่องมือใหม่ที่ให้บริการ

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา งานสัตว์ทดลอง ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ ให้เช่าพื้นที่และห้องประชุม

เครื่องระบุชนิดจุลินทรีย์อย่างละเอียด {Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS)}

เป็นหลักการวิเคราะห์โปรตีนด้วย MALDI-TOF MS บนแผ่นโลหะที่มีส่วนผสมของเมตทริกซ์ และโปรตีนที่ต้องการวิเคราะห์ เมื่อกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์จะทําให้สารตัวอย่างแตกตัวเป็นไอออนในวัฏภาคแก๊ส ไอออนจะถูกเร่งความเร็วและถูกส่งเข้าไปในท่อสุญญากาศ ซึ่งไอออนจะถูกแยกตามความเร็วในการเคลื่อนที่ของไอออน โดยความเร็วของการเคลื่อนที่ ขึ้นกับมวลต่อประจุ (mass/charge ratio; m/z) จากนั้นจะเข้าสู่ detector ทําให้ได้สเปกตรัมที่สามารถจําแนกชนิดของโปรตีนจําเพาะได้ สำหรับการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล biopolymers

เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ X-ray Diffractometer (XRD)

XRD เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการของ Bragg's Law คือ เมื่อรังสีเอกซ์ตกกระทบกับระนาบของอะตอมภายในผลึก รังสีเอกซ์จะเกิดการสะท้อนที่มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ ทำให้มีการนำมาใช้ศึกษารูปแบบโครงสร้างผลึกของสารตัวอย่าง ซึ่งผลึกของสารตัวอย่างแต่ละชนิดจะมีขนาดของ Unit Cell ที่ไม่เท่ากัน ทำให้รูปแบบของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของสารประกอบต่าง ๆ กับรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ได้ ทำให้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ (identification) โครงสร้างผลึกของวัสดุหรือสารตัวอย่างนั้นๆได้

Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer (NMR 600 MHz)

เครื่องนิวเคลียร์เมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก มีประโยชน์ในการศึกษาสูตรโครงสร้างทางเคมีและพลวัตของสารตัวอย่าง

เจ้าหน้าที่

ผลงานวิจัย

เครื่องมือและการให้บริการ

ห้องปฏิบัติการและห้องประชุม

การบริการ

บริการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

เครื่องมือวิทยาศาสตร์

บริการเครื่องมือกลุ่ม Material Characterization, Spectroscopy, ICP, Biological Equipment ,ระบบ Packaging แบบสูญญากาศ และอื่นๆ

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา

บริการสกัดแยกวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและกลไกการออกฤทธิ์ในระดับเซลล์และโมเลกุล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุล

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

งานสัตว์ทดลอง

บริการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองโดยได้รับมาตรฐานระดับสากล AAALAC International บริการการปฏิบัติการและทำหัตถการกับสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องปฏิบัติการ

บริหารห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 และห้องปฏิบัติการทางรังสีของสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ

ให้คำปรึกษาการจดสิทธิบัตร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา บ่มเพาะธุรกิจ Start UP พร้อม Co-working Space

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องประชุม

บริการห้องประชุม 10 - 80 ที่นั่ง พร้อมอุปกรณ์ในการประชุมด้วยระบบประชุมทางไกล โถงสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ

บันทึกความร่วมมือ

MOU

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ติดต่อเรา

สำนักสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

thammasat@gmail.com

02-564-2944

02-564-4440 ต่อ 77710

facebook
tusatofficial
Q&A
คำถามที่พบบ่อย

Q&A