ภาษาไทย English
หน่วยงานภายใน

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

มุ่งมั่นปรับปรุงให้บริการด้วยใจ โปร่งใสบริหารงาน ได้มาตรฐานสากล เพื่อประสิทธิผลของผู้ใช้บริการ

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ศูนย์สัตว์ทดลอง

ถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองตามมาตรฐานระดับสากล

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

ค้นคว้าและพัฒนาสารเคมีใหม่ที่มาจากธรรมชาติในการรักษาโรค บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยด้านการค้นคว้าและพัฒนายา

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้านบ่มเพาะวิสาหกิจ (Start Up) และด้านคลินิกเทคโนโลยี

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

บริการเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานเลขานุการ

บริการด้านการเงิน ระบบสารสนเทศ การจัดซื้อจัดจ้าง อาคารสถานที่ งานวิจัย รวมถึง บริการให้เช่าพื้นที่ และห้องประชุม

image
ประกาศ & ข่าวสาร

ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมอบรม รับสมัครงาน การจัดซื้อจัดจ้าง

งานคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

งานคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมื่อวันพุธที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 8.30 – 9.30 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารบรรยายรวม 5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี เลขานุการและ บุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นผู้แทนไปร่วมแสดงความยินดีเนื่องในงานคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท Origgin

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท Origgin

เมื่อวันพุธที่ 2 เมษายน 2568 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท Origgin ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และบ่มเพาะนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Ms. Luan Yi Chyi ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Origgin เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.จิรดา สิงขรรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ และคณะผู้บริหารจากทั้งสององค์กรร่วมเป็นสักขีพยาน

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)”

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)”

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ได้จัดอบรมโครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ “วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Workshop)” ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 💰 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ ภายในงานเราได้รับเกียรติจาก คุณวิริยะ อนุจารี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการวิเคราะห์ทางการเงินที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ เช่น • การคำนวณ Financial Feasibility เพื่อประเมินโอกาสความสำเร็จของธุรกิจ • การใช้ โปรแกรมของแผนธุรกิจ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน • การวิเคราะห์ต้นทุน-กำไร เพื่อช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจแม่นยำยิ่งขึ้น 💪🏻 Workshop แบบลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลอง คำนวณทางการเงินสำหรับธุรกิจของตนเอง ตั้งแต่ • การคำนวณต้นทุนสินค้า • การตั้งราคาขายที่เหมาะสม • การวิเคราะห์กำไรขาดทุน • การวางแผนการเงินระยะสั้นและระยะยาว ✨ บรรยากาศเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และไอเดีย ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ช่วยให้สามารถจัดการการเงินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว 🙏 ทางศูนย์ฯ ขอขอบคุณ คุณวิริยะ อนุจารี และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกันอีกในการอบรมครั้งต่อไป 🎉

วันรีไซเคิลโลก

วันรีไซเคิลโลก

🌍♻️ 18 มีนาคม วันรีไซเคิลโลก ♻️🌍 รู้ไหม? ขยะที่เราทิ้งไปทุกวัน สามารถกลับมาเป็นของใช้ใหม่ได้! 🏡✨ แค่เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการ แยกขยะให้ถูกต้อง 💚 ขวดพลาสติก กระป๋อง แก้ว → รีไซเคิลได้ 💙 กระดาษ กล่องกระดาษ → แยกให้สะอาดก่อนทิ้ง 💛 ขยะอินทรีย์ เศษอาหาร → ทำปุ๋ยได้ การรีไซเคิลไม่ใช่แค่ช่วยลดขยะ แต่ยังช่วย ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และสร้างโลกที่ยั่งยืน 🌏✨ 📢 มาร่วมมือกันแยกขยะวันนี้ เพื่อโลกที่ดีขึ้นทุกวัน!

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ

โครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ "วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจผ่าน Lean Canvas (Workshop)"

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ ได้จัดอบรมโครงการ ACADEMIC ENTREPRENEUR ในหัวข้อ "วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจผ่าน Lean Canvas (Workshop)" ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 👨‍🏫 ภายในงานเราได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชษฐ์ เบญจรงค์รัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการตลาด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ, ทักษะที่จำเป็นในการเริ่มต้นธุรกิจ และความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ พร้อมทั้งเจาะลึกแนวทางวิเคราะห์ธุรกิจผ่าน Lean Canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ 💼 Workshop แบบลงมือปฏิบัติจริง ช่วยให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจโครงสร้างธุรกิจของตนเองมากขึ้น ตั้งแต่การ กำหนดปัญหาที่ธุรกิจต้องแก้ไข, การระบุลูกค้าเป้าหมาย, การหากลยุทธ์สร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ ไปจนถึงการวางโมเดลธุรกิจที่สามารถนำไปใช้ได้จริง บรรยากาศเต็มไปด้วย การแลกเปลี่ยนไอเดียที่เป็นประโยชน์ ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดไอเดียทางธุรกิจ และพัฒนาให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคต✨ 🙏 ทางศูนย์ฯ ขอขอบคุณ ดร.พิเชษฐ์ เบญจรงค์รัตน์ และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกันอีกในการอบรมครั้งต่อไป

TUIPI และ VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา 🚀

TUIPI และ VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา 🚀

🗓️ วันที่ 18 มีนาคม 2568 | เวลา 13.00 - 15.00 ⛲️ ณ ห้อง TCS ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUIPI) และบริษัท VISUP ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการลงทุนใน Startup ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของแต่ละฝ่าย และกำหนดแนวทางความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้ธุรกิจนวัตกรรมสามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมประชุมโดยผู้บริหาร TUIPI รศ.ดร จิรดา สิงขรรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ และ รศ.ดร เจียรนัย เล็กอุทัย ที่ปรึกษาศูนย์ฯ พร้อมทั้งผู้บริหารจาก VISUP คุณอภิวัฒน์ ทองประเสร็ฐ ,คุณอดิพล ตันนิรันดร ,คุณสรวิชญ์ ชัยวงศ์สุรฤทธิ์ และคุณฐิติพร แสนสุรีย์รังสิกุล ร่วมถึงผู้ประกอบการจาก มธ. 2 ราย 📍นักวิจัย ผู้ประกอบการที่ต้องการต่อยอดงานวิจัยสู่ธุรกิจ หรือ Startup ที่กำลังมองหาแหล่งทุนและพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนนักลงทุนที่สนใจโอกาสในธุรกิจนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย สามารถติดต่อทางที่ศูนย์ฯ

รายการ

เครื่องมือใหม่ที่ให้บริการ

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา งานสัตว์ทดลอง ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ ให้เช่าพื้นที่และห้องประชุม

เครื่องระบุชนิดจุลินทรีย์อย่างละเอียด {Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS)}

เป็นหลักการวิเคราะห์โปรตีนด้วย MALDI-TOF MS บนแผ่นโลหะที่มีส่วนผสมของเมตทริกซ์ และโปรตีนที่ต้องการวิเคราะห์ เมื่อกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์จะทําให้สารตัวอย่างแตกตัวเป็นไอออนในวัฏภาคแก๊ส ไอออนจะถูกเร่งความเร็วและถูกส่งเข้าไปในท่อสุญญากาศ ซึ่งไอออนจะถูกแยกตามความเร็วในการเคลื่อนที่ของไอออน โดยความเร็วของการเคลื่อนที่ ขึ้นกับมวลต่อประจุ (mass/charge ratio; m/z) จากนั้นจะเข้าสู่ detector ทําให้ได้สเปกตรัมที่สามารถจําแนกชนิดของโปรตีนจําเพาะได้ สำหรับการวิเคราะห์ชีวโมเลกุล biopolymers

เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ X-ray Diffractometer (XRD)

XRD เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักการของ Bragg's Law คือ เมื่อรังสีเอกซ์ตกกระทบกับระนาบของอะตอมภายในผลึก รังสีเอกซ์จะเกิดการสะท้อนที่มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ ทำให้มีการนำมาใช้ศึกษารูปแบบโครงสร้างผลึกของสารตัวอย่าง ซึ่งผลึกของสารตัวอย่างแต่ละชนิดจะมีขนาดของ Unit Cell ที่ไม่เท่ากัน ทำให้รูปแบบของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของสารประกอบต่าง ๆ กับรูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ได้ ทำให้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ (identification) โครงสร้างผลึกของวัสดุหรือสารตัวอย่างนั้นๆได้

Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer (NMR 600 MHz)

เครื่องนิวเคลียร์เมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก มีประโยชน์ในการศึกษาสูตรโครงสร้างทางเคมีและพลวัตของสารตัวอย่าง

เจ้าหน้าที่

ผลงานวิจัย

เครื่องมือและการให้บริการ

ห้องปฏิบัติการและห้องประชุม

การบริการ

บริการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง

เครื่องมือวิทยาศาสตร์

บริการเครื่องมือกลุ่ม Material Characterization, Spectroscopy, ICP, Biological Equipment ,ระบบ Packaging แบบสูญญากาศ และอื่นๆ

ศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนายา

งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา

บริการสกัดแยกวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพร ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและกลไกการออกฤทธิ์ในระดับเซลล์และโมเลกุล การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุล

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย

งานสัตว์ทดลอง

บริการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองโดยได้รับมาตรฐานระดับสากล AAALAC International บริการการปฏิบัติการและทำหัตถการกับสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องปฏิบัติการ

บริหารห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 และห้องปฏิบัติการทางรังสีของสัตว์ทดลอง

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

จดสิทธิบัตร บ่มเพาะธุรกิจ

ให้คำปรึกษาการจดสิทธิบัตร สร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา บ่มเพาะธุรกิจ Start UP พร้อม Co-working Space

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ

ห้องประชุม

บริการห้องประชุม 10 - 80 ที่นั่ง พร้อมอุปกรณ์ในการประชุมด้วยระบบประชุมทางไกล โถงสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ

บันทึกความร่วมมือ

MOU

สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ติดต่อเรา

สำนักสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

thammasat@gmail.com

02-564-2944

02-564-4440 ต่อ 77710

facebook
tusatofficial
Q&A
คำถามที่พบบ่อย

Q&A